วันพุธที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2555

แบบฝึกหัดท้ายบทที่ 2


วินโดวส์ 8

เป็นระบบปฏิบัติการรุ่นต่อไปในตระกูลวินโดวส์ เปิดตัวเมื่อ 22 ตุลาคม 2553 ผ่านทางบล็อกภาษาดัชต์ของไมโครซอฟท์เอง วินโดวส์ 8 มีคุณสมบัติเพิ่มเติมมากมายหลายอย่าง เช่น ไลฟ์ ไทลส์ ช่วยให้เข้าข้อมูลพื้นฐานได้ง่ายขึ้นวินโดวส์ เอ็กซ์พลอเร่อ ที่ใช้การจัดข้อมูลแบบริบบ้อนแทนแบบเดิม เป็นต้น ปัจจุบันวินโดวส์ 8 อยู่ระหว่างการพัฒนา ผู้พัฒนาสามารถดาวน์โหลดวินโดวส์รุ่นนี้ไปเพื่อพัฒนาโปรแกรมก่อนได้  ทางไมโครซอฟท์ยังไม่มีแผนการจัดจำหน่ายวินโดวส์ 8


เบงกาลูลู (ชื่อเดิมบังกาลอร์)
เป็นศูนย์กลางของอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีชั้นสูง อาทิ เทคโนโลยีอวกาศ สารสนเทศ อิเล็กทรอนิกส์ การบิน และอวกาศ


แบบฝึกหัดท้ายบทที่ 2

1.  ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ แตกต่างกันอย่างไร จงอธิบาย

ฮาร์ดแวร์เป็นองค์ประกอบที่จับต้อง สัมผัสหรือมองเห็นได้อย่างเป็นรูปธรรม โดยทั่วไปมักเป็น
อุปกรณ์ทั้งที่เป็นแบบติดตั้งอยู่ภายในตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ เช่น ซีพียู เมนบอร์ด แรม และที่ติดตั้งอยู่
ภายนอกเครื่อง เช่น คีย์บอร์ด เมาส์ จอภาพ เครื่องพิมพ์ สำหรับซอฟต์แวร์เป็นสิ่งที่ไม่สามารถจับต้องได้
เหมือนกับฮาร์ดแวร์ ถือเป็นองค์ประกอบทางนามธรรมมากกว่า แต่สามารถสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงานได้
ตามที่ต้องการ โดยจะบรรจุคำสั่งต่างๆที่มีการเขียนขึ้นมาโดยเฉพาะ ซึ่งมักถูกสร้างมาโดยนักเขียน
โปรแกรมที่มีความชำนาญเป็นพิเศษ



2.  หน่วยงานที่ชื่อ SIPA ถูกจัดตั้งโดยกระทรวงใด มีบทบาทและหน้าที่อย่างไรบ้างในวงการซอฟต์แวร์ไทย

สำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติหรือ Software Industry Promotion Agency
ถูกจัดตั้งโดยกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารหรือกระทรวง ICT เป็นองค์กรมหาชนที่ทำ
หน้าที่ส่งเสริมให้คนไทยพัฒนาซอฟต์แวร์ไว้ใช้เอง ลดการนำเข้าจากต่างประเทศ รวมถึงพัฒนาเพื่อการ
ส่งออกและนำรายได้เข้าประเทศอีกทางหนึ่ง ปัจจุบันมีเครือข่ายครอบคลุมอยู่ตามหัวเมืองใหญ่ เช่น
กรุงเทพฯ ภูเก็ต ขอนแก่น และเชียงใหม่ เป็นต้น



3.  นักวิเคราะห์ระบบกับผู้ใช้งานมีความสัมพันธ์ที่เกี่ยวข้องอย่างไรบ้าง จงยกตัวอย่างประกอบ

นักวิเคราะห์ระบบทำหน้าที่วิเคราะห์และออกแบบระบบสำหรับใช้งานบางอย่างตามที่ผู้ใช้ต้องการ
โดยจำเป็นต้องมีการศึกษา สำรวจความต้องการโดยรวมจากผู้ใช้งานโดยตรง เพื่อนำเอามาเป็นแนวทาง
ในการออกแบบระบบเพื่อให้บรรลุตามเป้าหมายและสามารถใช้งานได้โดยมีข้อจำกัดน้อยที่สุด ผู้ใช้งาน
เองอาจมีส่วนร่วมในการให้ความคิดเห็น ข้อมูลย้อนกลับหรือรูปแบบของระบบงานที่ต้องการให้กับนัก
วิเคราะห์และออกแบบระบบได้ เช่น ต้องการให้วางหรือออกแบบระบบบัญชีเพื่อใช้ในสำนักงานนั้นโดย
เฉพาะ ผู้ใช้จำเป็นต้องให้ข้อมูลเกี่ยวกับวิธีการเบิกรับจ่ายสินค้า การบันทึกสินค้าคงเหลือ การแยก
ประเภทบัญชี ให้กับทีมงานการวิเคราะห์และออกแบบระบบเพื่อเป็นแนวทางในการวางระบบให้สมบูรณ์
เป็นต้น



4.  ช่างเทคนิค มีหน้าที่และบทบาทอย่างไรกับงานทางด้านคอมพิวเตอร์

มีหน้าที่หลักคือ การแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นกับระบบในหน่วยงานให้สามารถใช้งานได้ตามปกติ กลุ่ม
คนประเภทนี้ต้องมีทักษะและประสบการณ์ในการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้เป็นอย่างดี เพราะการปฏิบัติ
งานกับผู้ใช้อาจเกิดปัญหาในการใช้งานได้ตลอดเวลา โดยเฉพาะกับผู้ใช้งานมือใหม่และไม่มีความชำนาญ
อย่างเพียงพอ ปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้น เช่น ตัวเครื่องคอมพิวเตอร์เกิดขัดข้องระหว่างทำงาน ซอฟต์แวร์ที่
นำเอามาใช้ไม่สามารถทำงานได้เหมือนเคย สิ่งเหล่านี้จะเกิดขึ้นอยู่เสมอ ช่างเทคนิคเหล่านี้จึงเปรียบ
เสมือนหมอที่ช่วยรักษาคนไข้ให้หายจากอาการผิดปกติบางอย่างได้นั่นเอง



5.  Software Engineer เกี่ยวข้องอย่างไรกับกระบวนการผลิตซอฟต์แวร์

เป็นบุคคลในสายงานอาชีพทางด้านคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่วิเคราะห์และตรวจสอบซอฟต์แวร์ที่
พัฒนาขึ้นมาอย่างมีแบบแผนโดยอาศัยหลักการทางวิศวกรรมศาสตร์เข้ามาช่วย เช่น วัดค่าความซับซ้อน
ของซอฟท์แวร์ที่ผลิตขึ้นมา ตรวจสอบดูว่าการเขียนโปรแกรมนั้นถูกต้องตามหลักการเขียนโปรแกรมที่ดี
หรือไม่ เป็นกลุ่มคนที่มีทักษะและความเข้าใจในการพัฒนาซอฟต์แวร์มากพอสมควร มีทักษะในการเขียน
โปรแกรมได้หลายๆภาษา และสามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างทันท่วงทีตั้งแต่ขั้นตอนแรกๆของการสร้างไป
จนสิ้นสุดกระบวนการ อาจอยู่ในทีมเดียวกับกลุ่มนักเขียนโปรแกรมและนักวิเคราะห์ระบบ มักพบเห็นได้
กับการผลิตซอฟต์แวร์ขนาดใหญ่ เช่น ระบบปฏิบัติการ หรือการสร้างเกมส์หรือโปรแกรมควบคุมเครื่อง
จักรขนาดใหญ่ เป็นต้น



6.  การดูแลและบริหารระบบเครือข่าย เกี่ยวข้องกับบุคคลตำแหน่งใดมากที่สุด

เป็นลักษณะงานที่เกี่ยวข้องกับบุคคลในตำ แหน่งที่เรียกว่า ผู้ดูแลเน็ตเวิร์ก (Network
Administrator) มากที่สุด โดยจะต้องดูแลและบริหารระบบเครือข่ายให้สามารถทำงานได้อย่างราบรื่น มี
การติดตั้งระบบของเครือข่ายที่รัดกุม สร้างระบบป้องกันการบุกรุกที่มีเสถียรภาพและเฝ้าระวังไม่ให้เกิด
การถูกโจมตีจากผู้ไม่ประสงค์ดีเข้ามายังเครือข่ายในองค์กรได้



7.  binary digit คืออะไร เกี่ยวข้องอย่างไรกับการทำงานของคอมพิวเตอร์
เลขฐานสอง ที่ประกอบด้วยตัวเลขเพียง 2 ตัวเท่านั้นคือ 0 กับ 1 ซึ่งโดยปกติข้อมูลที่จะนำมาใช้
กับคอมพิวเตอร์ได้นั้น จะต้องมีการแปลงรูปแบบหรือสถานะให้คอมพิวเตอร์เข้าใจเสียก่อน จึงจะสามารถ
เอามาใช้งานในการประมวลผลต่างๆ ได้ ซึ่งโดยปกติจะเรียกว่า สถานะแบบดิจิตอล ซึ่งมีเพียงสองสถานะ
เท่านั้นคือ เปิด (1) และ ปิด (0)



8.  กระบวนการแปลงข้อมูลปกติให้เป็นเลขฐานสองทางคอมพิวเตอร์ มีขั้นตอนอย่างไรบ้าง จงอธิบาย

เริ่มจากข้อมูลตัวอักษรจะถูกป้อนเข้าไปยังระบบผ่านเข้าทางอุปกรณ์รับข้อมูลเช่น คีย์บอร์ด จาก
นั้นสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์ของตัวอักษรดังกล่าวจะถูกส่งต่อไปยังระบบการทำงานของคอมพิวเตอร์ เพื่อ
แปลงให้อยู่ในรูปแบบรหัสมาตรฐานที่เข้าใจตรงกัน และนำเก็บไว้ในหน่วยความจำเพื่อรอการประมวลผล
และแปลงกลับออกมาให้อยู่ในรูปแบบของภาพที่สามารถมองเห็นได้ผ่านอุปกรณ์การแสดงผลบางอย่าง
เช่น จอภาพ เป็นต้น



9.  การนำเข้าข้อมูลสู่คอมพิวเตอร์ สามารถทำได้โดยวิธีใดบ้าง จงยกตัวอย่างประกอบ
สามารถนำเข้าข้อมูลได้ 2 วิธีด้วยกันคือ

 ผ่านอุปกรณ์นำเข้า (input device)
ซึ่งเป็นวิธีที่ง่ายและสะดวกที่สุดสำหรับนำข้อมูลเข้าไปยังคอมพิวเตอร์โดยตรงผ่านอุปกรณ์นำเข้า
ข้อมูลหลายชนิด ขึ้นอยู่กับรูปแบบของข้อมูลด้วยว่าเป็นแบบใดและสามารถใช้งานร่วมกับอุปกรณ์
เหล่านั้นได้หรือไม่ ที่รู้จักกันดี เช่น คีย์บอร์ด สแกนเนอร์ ไมโครโฟน เป็นต้น
-
 ใช้สื่อเก็บบันทึกข้อมูลสำรอง (secondary storage)
การนำเข้าด้วยวิธีนี้อาจดึงเอาข้อมูลที่มีการบันทึกหรือเก็บไว้ก่อนหน้านั้นแล้ว จากสื่อบันทึกอย่าง
ใดอย่างหนึ่งมาใช้ได้ สื่อบันทึกข้อมูลแบบนี้เรียกว่า สื่อบันทึกข้อมูลสำรอง เช่น ฮาร์ดดิสก์ ดิส
เก็ตต์ หรือซีดี เป็นต้น



10.    พื้นฐานการทำงานของคอมพิวเตอร์ ส่วนใดที่ถือว่าเป็นเหมือนกับ สมองและประกอบด้วยส่วนที่เกี่ยวข้อง
อะไรบ้าง

ซีพียูหรือหน่วยประมวลผลกลาง เปรียบเหมือนกับ สมองของคอมพิวเตอร์ ซึ่งมีหน้าที่หลักใน
การประมวลผลคำสั่งที่ได้รับมาว่าจะให้ทำอะไรบ้าง ประกอบด้วยหน่วยสำหรับการทำงานแบ่งออกเป็น
ส่วนๆคือ
หน่วยควบคุม (Control Unit)
หน่วยคำนวณและตรรกะ (Arithmetic and Logic Unit)
รีจิสเตอร์ (Register)



11.    ROM และ RAM เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร

ถือเป็นหน่วยความจำเหมือนกัน แต่ ROM เป็นหน่วยความจำที่อ่านได้อย่างเดียว ไม่สามารถ
เขียนหรือบันทึกเพิ่มเติมได้ โดยปกติจะเป็นการเก็บคำสั่งที่ใช้บ่อยและเป็นคำสั่งเฉพาะ มีอยู่กับเครื่อง
อย่างถาวร แม้ไฟจะดับก็ไม่ทำให้คำสั่งต่างๆหายไป ส่วน RAM เป็นหน่วยความจำอีกแบบหนึ่งแต่เมื่อไฟ
ดับหรือปิดเครื่องข้อมูลต่างๆจะถูกลบเลือนหายไปหมด นิยมใช้สำหรับจดจำคำสั่งในระหว่างที่ระบบกำลัง
ทำงานอยู่เพียงเท่านั้น สามารถเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้ตลอดเวลา



12.    machine cycle คืออะไร และมีหลักการทำงานอย่างไรบ้าง จงอธิบาย
เป็นวงรอบหนึ่งๆในการทำงานของซีพียู จะเกี่ยวข้องกับการประมวลผลหลักๆโดยการอ่านและดึง
ข้อมูลมาจากหน่วยความจำหลัก เพื่อเก็บเข้าสู่รีจิสเตอร์ในส่วนที่เก็บชุดคำสั่งและตำแหน่งสำหรับประมวล
ผล จากนั้นจะมีการแปลความหมายของชุดคำสั่งว่าจะให้ทำอะไรบ้าง และนำไปทำงานตามที่ได้รับนั้นและ
เก็บผลลัพธ์ที่ได้เพื่อให้ส่วนอื่นๆเรียกใช้ต่อไป โดยจะมีการวนอ่านเพื่อประมวลผลแบบนี้วนซ้ำไปเรื่อยๆ
จนกว่าจะจบโปรแกรมหรือชุดคำสั่งในการทำงานทั้งหมด




13.    ขั้นตอนช่วง E-Time ประกอบด้วยขั้นตอนอะไรบ้าง

Exectutioin Time หรือเวลาปฏิบัติการ เป็นส่วนหนึ่งของขั้นตอนในวงรอบการทำงานของซีพียู
ประกอบด้วยขั้นตอนของการปฏิบัติการ (Execute) และขั้นตอนการเก็บผลลัพธ์ (Store)




******อ้างอิงข้อมูลจาก
หนังสือความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ

http://dusithost.dusit.ac.th/~chawalin_nia/site1/it/key_chapter_02.pdf

วันพุธที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2555

แบบฝึกหัดท้ายบทที่ 1

1. ลักษณะเด่นของคอมพิวเตอร์โดยทั่วไปประกอบด้วยอะไรบ้าง จงอธิบาย
ลักษณะเด่นของคอมพิวเตอร์ประกอบด้วยคุณสมบัติพื้นฐานดังนี้
-ความเป็นอัตโนมัติ (Self Acting) คอมพิวเตอร์ประดิษฐ์ขึ้นด้วยอุปกรณ์ทางอิเล็กทรอนิกส์ มี
การจัดเก็บหรือแปลงข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบของสัญญาณไฟทำงานแบบอัตโนมัติภายใต้คำสั่งที่ได้
ถูกกำหนดไว้
- ความเร็ว (Speed) คอมพิวเตอร์จะประมวลผลงานด้วยความเร็วสูง ต่างจากการประมวลผลงาน
ในอดีตที่อาศัยแรงงานของมนุษย์ซึ่งให้ผลลัพธ์ที่ช้ากว่ามาก ความรวดเร็วในการประมวลผลดัง
กล่าวมีความจำเป็นอย่างมากต่อการดำเนินงานธุรกรรมในปัจจุบัน
-ความถูกต้อง แม่นยำ (Accuracy) คอมพิวเตอร์จะให้ผลลัพธ์แม่นยำ และมีความผิดพลาดน้อย
ที่สุด ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการป้อนข้อมูลเข้าที่ถูกต้องด้วย หากมีการป้อนข้อมูลที่ผิด โปรแกรมหรือชุด
คำสั่งจะประมวลผลตามที่ได้รับข้อมูลมาเช่นนั้น ซึ่งไม่ใช่เป็นความผิดพลาดของคอมพิวเตอร์
หากแต่เป็นความผิดพลาดของฝั่งผู้ใช้เอง
-ความน่าเชื่อถือ (Reliability)
การประมวลผลด้วยคอมพิวเตอร์สามารถนำไปใช้ประโยชน์อื่นๆต่อไปได้ โดยเฉพาะในปัจจุบันมี
ฮาร์ดแวร์ที่ผลิตขึ้นด้วยอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์สมัยใหม่ การประมวลผลด้วยคอมพิวเตอร์ใน
ปัจจุบันจึงมีความผิดพลาดต่ำมากหรือแทบไม่เกิดขึ้นเลย
-การจัดเก็บข้อมูล (Storage Capability) คอมพิวเตอร์สามารถจัดเก็บข้อมูลได้หลากหลายรูป
แบบ ทั้งข้อมูลที่เป็นข้อความธรรมดาหลายๆล้านตัวอักษร เพลง ภาพถ่าย วิดีโอ หรือไฟล์ข้อมูล
ขนาดใหญ่
-ทำงานซ้ำๆได้ (Repeatability) คอมพิวเตอร์สามารถทำงานซ้ำๆกันได้หลายรอบ ช่วยลด
ปัญหาเรื่องความอ่อนล้าจากการทำงานของแรงงานคน การคิดหาผลลัพธ์ของงานที่มีลักษณะ
ซ้ำๆแบบเดิม จึงเหมาะอย่างยิ่งต่อการนำเอาคอมพิวเตอร์ไปใช้งาน
-การติดต่อสื่อสาร (Communication) คอมพิวเตอร์ในปัจจุบันสามารถเชื่อมโยงเข้าหากันเป็น
เครือข่ายมากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเครือข่ายภายในองค์กรเล็กๆหรือระดับเครือข่ายใหญ่ๆเช่นอิน
เทอร์เน็ต ทำให้การประมวลผลงานมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และไม่จำกัดอยู่แค่พื้นที่ใดพื้นที่
หนึ่งอีกต่อไป

2. เครื่อง suan-pan เกี่ยวข้องกับประวัติของคอมพิวเตอร์ อย่างไร จงอธิบาย
-Suan-pan เป็นอุปกรณ์ประเภทลูกคิดที่เอามาใช้สำหรับคำนวณของชาวจีนในสมัยก่อน เพื่อช่วย
ให้สามารถคิดหาผลลัพธ์ได้เร็วมากยิ่งขึ้น ถือว่าเป็นอุปกรณ์ที่มีบทบาทสำคัญเป็นอย่างมาก ซึ่งเป็นต้น
แบบให้เกิดการประดิษฐ์เครื่องคำนวณอื่นๆตามมาอย่างมากมาย จนกลายมาเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เรา
พบเห็นกันในปัจจุบัน

3. แท่งคำนวณของเนเปียร์ (Napier’s bonse) สร้างขึ้นมาโดยใคร และมีหลักการทำงานอย่างไรบ้าง
สร้างขึ้นโดยนักคณิตศาสตร์ชาวสก๊อตชื่อว่า จอห์น เนเปียร์ มีลักษณะเป็นแท่งไม้ตีเป็นเส้นตาราง
เพื่อเอาไว้ใช้สำหรับคำนวณหาผลลัพธ์ โดยแต่ละแท่งจะมีตัวเลขเขียนกำกับไว้ เมื่อต้องการคูณตัวเลข
ใดๆก็จะเอาแท่งไม้เหล่านั้นมาวางเรียงต่อกันเพื่อเทียบกับแท่งดรรชนี (index) เพื่อหาผลลัพธ์ต่อไป

4. ผู้ที่ได้ชื่อว่าเป็นบิดาของคอมพิวเตอร์คือใคร และเหตุใดจึงได้รับการยกย่องเช่นนั้น
ชาร์ลส แบบเบจ คือผู้ที่ได้รับการยกย่องว่าเป็น “บิดาของคอมพิวเตอร์” เนื่องจากเขาเป็นผู้ที่นำ
เสนอแนวคิดเกี่ยวกับการสร้างเครื่องจักรกลให้สามารถทำงานตามคำสั่งได้โดยที่ไม่ต้องมานั่งคำนวณหา
ผลลัพธ์ครั้งใหม่อีก เพื่อเป็นการป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดการผิดพลาดอีกได้ โดยเครื่องมือที่เขาเสนอให้
สร้างนั้นมีอยู่ 2 เครื่องด้วยกันคือ เครื่อง Difference Engine หรือเครื่องคำนวณเพื่อหาผลต่าง ซึ่งได้มี
การนำไปสร้างแต่ก็ยังไม่ถือว่าเสร็จโดยสมบูรณ์ และอีกเครื่องหนึ่งมีชื่อว่า Analytical Engine ซึ่งมีส่วน
ของการทำงานคล้ายกับเครื่องคอมพิวเตอร์ในยุคปัจจุบันมากที่สุด โดยแบ่งการทำงานออกเป็นหลายๆ
ส่วน เช่น ส่วนนำเข้า ส่วนคำนวณ ส่วนควบคุม และส่วนเก็บหน่วยความจำ เป็นต้น แนวคิดดังกล่าวเป็น
เสมือนกับการสร้างต้นแบบของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่พบเห็นในปัจจุบันนั่นเอง เขาจึงได้รับการยกว่าเป็น
“บิดาของคอมพิวเตอร์” นั่นเอง

5. เครื่องคอมพิวเตอร์แบบดิจิตอลเครื่องแรกของโลก คือเครื่องใด และจงอธิบายว่าสร้างขึ้นมาด้วยเหตุผลใด
ENIAC ถือว่าเป็น “เครื่องคอมพิวเตอร์แบบดิจิตอลเครื่องแรกของโลก” สร้างขึ้นเพื่อนำมาใช้ใน
การช่วยคำนวณวิถีของกระสุนปืนใหญ่ของกองทัพสหรัฐอเมริกาในยุคสงครามโลกครั้งที่สอง เพราะในยุค
นั้นยังหาเครื่องที่ทำงานคำนวณเร็วๆไม่ได้ เครื่องที่พบเห็นอยู่ในยุคนั้นบางเครื่องกว่าจะได้ผลลัพธ์จาก
การคำนวณต้องใช้เวลานานมากถึง 12 ชั่วโมง ทำให้ไม่สามารถเอามาใช้กับการวางแผนเพื่อทำสงคราม
ได้ ทางกองทัพจึงได้ตัดสินใจให้นักวิชาการสองท่านคือ จอห์น ดับบลิว มอชลี่และจอห์น เพรสเปอร์ เอ็ค
เคิร์ทแห่งวิทยาลัยวิศวกรรมไฟฟ้ามัวร์ ออกแบบสร้างเครื่องคอมพิวเตอร์ดังกล่าวขึ้น

6. John Von Neumann มีบทบาทอย่างไรเกี่ยวกับประวัติของคอมพิวเตอร์
เขาเป็นผู้เสนอแนวคิดและเผยแพร่ให้มีการพัฒนาเครื่องที่สามารถเก็บข้อมูลและชุดคำสั่งไว้ภาย
ในได้เอง โดยไม่ต้องมาคอยป้อนข้อมูลเข้าไปใหม่ทุกครั้งซึ่งทำให้เสียเวลาในการทำงานอย่างมาก โดยตี
พิมพ์ผลงานเผยแพร่หลักการดังกล่าว มีชื่อว่า “First Draft of a Report on the EDVAC Design” ซึ่งเป็น
แนวทางให้เกิดการสร้างเครื่องคอมพิวเตอร์ตามแนวคิดของเขาอย่างเช่น เครื่อง EDSAC และ EDVAC ที่
รู้จักกันดีนั่นเอง

7. เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องแรกที่ใช้ในเชิงธุรกิจ คือเครื่องใด และนำมาใช้กับงานด้านใด
UNIVAC เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่นำเอามาใช้ในเชิงธุรกิจเป็นเครื่องแรก โดยมีทีมงานที่พัฒนา
คือมอชลี่และเอ็คเคิร์ท เพื่อทำนายผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีคนที่ 34ของสหรัฐอเมริกา สามารถ
ทำงานด้วยความเร็วที่สูงกว่าเครื่องคอมพิวเตอร์ในยุคก่อนหน้าเป็นอย่างมาก

8. ทรานซิสเตอร์กับแผงวงจรรวม เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไรบ้าง จงอธิบาย
ทรานซิสเตอร์เป็นอุปกรณ์ที่นำมาใช้ทดแทนการทำงานของหลอดสูญญากาศ โดยมีขนาดที่เล็ก
กว่ามาก ทำให้คอมพิวเตอร์ที่ผลิตได้ในยุคนั้นมีขนาดเล็กและมีอายุการใช้งานยาวนานขึ้น แต่เนื่องจาก
การทำงานที่ซับซ้อนและต้องการประมวลผลที่เร็วขึ้น การใช้อุปกรณ์ดังกล่าวไม่เพียงพอต่อความต้องการ
จึงได้สร้างอุปกรณ์ทดแทนแบบใหม่เรียกว่า แผงวงจรรวม โดยมีขีดความสามารถที่ดีกว่าเดิม ซึ่งเป็นการ
นำเอาทรานซิสเตอร์จำนวนนับพันตัวมารวมกันเป็นอุปกรณ์ชิ้นเดียวและมีขนาดที่เล็กลง จึงทำให้ลดต้น
ทุนในการผลิตลงไปได้มาก และยังสามารถคำนวณงานที่ซับซ้อนขึ้นได้เป็นอย่างดี

9. E-government คืออะไร จงอธิบายพร้อมยกตัวอย่างประกอบ
Electronic gomervenment หรือรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ เป็นโครงการที่นำ เอาระบบระบบ
เทคโนโลยีสารสนเทศอันทันสมัยมาให้บริการประชาชน เพื่อปรับปรุงและปฏิรูประบบราชการไทยให้มีประ
สิทธิภาพที่ดีขึ้นกว่าเดิม ประชาชนทั่วไปสามารถใช้บริการต่างๆของทางภาครัฐบาลได้ง่ายและสะดวก
มากยิ่งขึ้น ตัวอย่างเช่น บริการเสียภาษีผ่านอินเทอร์เน็ตสำหรับประชาชนทั่วไปของกรมสรรพากร โดยที่
ไม่ต้องไปเสียเวลาต่อคิวทำรายการยังสำนักงานให้บริการก็สามารถเสียภาษีต่างๆได้เองภายในไม่กี่นาที
หรือบริการเชื่อมฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร์ที่เชื่อมโยงเข้าถึงกันทั่วประเทศ เพื่อสะดวกในการเปลี่ยนแปลง
และแจ้งรายการข้อมูลงานทะเบียนราษฎร์ทั่วไป

10.สายการบินต้นทุนต่ำ (low cost airline) คืออะไร และมีการลดต้นทุนโดยนำเอาคอมพิวเตอร์มาช่วยได้อย่างไรบ้าง จงอธิบายประกอบ
เป็นสายการบินรูปแบบหนึ่งที่เน้นการลดต้นทุนในการจัดการและบริหารงานให้น้อยที่สุดเท่าที่จะ
ทำได้ เพื่อให้สามารถแข่งขันกันในเรื่องของราคาตั๋วโดยสารให้มีราคาที่ถูกลง และทำกำไรด้วยการบินใน
ระยะทางที่เพิ่มมากขึ้น ด้วยจำนวนคนที่เดินทางมากกว่าเดิม มีการลดต้นทุนโดยนำเอาคอมพิวเตอร์และ
เทคโนโลยีอันทันสมัยมาช่วยในเรื่องของการรับจองการเดินทาง โดยผ่านช่องทางหลายๆช่องทาง เช่น
โทรศัพท์ อินเทอร์เน็ต เพื่อให้ลูกค้าสามารถเข้าถึงได้ง่ายและทำรายการต่างๆได้โดยตนเอง โดยไม่จำเป็น
ต้องผ่านตัวแทนขายเหมือนในสมัยก่อน ลูกค้าสามารถเข้าไปตรวจสอบข้อมูลรายการเดินทางต่างๆได้
อย่างง่ายดาย เป็นการช่วยตัดค่านายหน้าที่เคยต้องให้กับตัวแทนทุกครั้งออกไปและยังเป็นการลดงาน
เอกสารให้น้อยลงไปด้วย ซึ่งบางแห่งไม่จำเป็นต้องออกตั๋วเป็นใบๆให้กับลูกค้า เพียงแค่ให้แสดงบัตรใดๆ
ที่มีรูปถ่ายซึ่งทางราชการออกให้ก็สามารถเดินทางได้เลยทันที

11.ลักษณะเด่นของสื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอนหรือ CAI คืออะไร แตกต่างอย่างไรกับสื่อการสอนในอดีต
Computer Assisted Instruction หรือคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ซึ่งเป็นศัพท์ที่รู้จักกันดีนั้น เป็นสื่อ
การสอนรูปแบบใหม่ที่นำเอาความสามารถของคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีอื่นๆมาสร้างให้อยู่ในรูปแบบ
ของสื่อมัลติมีเดียที่ประกอบด้วยรูปภาพ บทบรรยาย เสียงพูดและเทคนิคการนำเสนอต่างๆให้มีความน่า
สนใจและก่อให้เกิดความอยากเรียน อยากศึกษามากขึ้น โดยอาจมีแบบฝึกหัดให้ผู้เรียนสามารถทบทวน
หรือฝึกฝนไปในตัวได้ การนำเอาความสามารถดังกล่าวของคอมพิวเตอร์มาประยุกต์ใช้กับการการศึกษา
ทำให้ผู้เรียนเข้าใจเนื้อหาต่างๆได้ง่าย อีกทั้งหากเรียนแล้วไม่เข้าใจก็สามารถเรียนหรือฝึกทบทวนซ้ำเอง
ได้ทุกที่ ทุกเวลา ซึ่งสื่อแบบเดิมไม่สามารถทำได้หรือทำได้แต่ไม่สนับสนุนในเรื่องของมัลติมีเดียได้ดีเพียง
พอ

12. รูปแบบของ E-banking สามารถทำได้โดยผ่านช่องทางอะไรบ้าง จงอธิบายพร้อมทั้งยกตัวอย่างมาประกอบอย่างน้อย 3 ช่องทาง
ธนาคารทางอิเล็กทรอนิกส์ที่พบเห็นในปัจจุบัน สามารถทำธุรกรรมเกี่ยวกับการเงินได้หลายช่อง
ทางมาก ซึ่งขอยกตัวอย่างประกอบ 3 ช่องทางดังนี้
ผ่านตู้ ATM
ผู้ใช้บริการสามารถเลือกทำรายการธุรกรรมต่างๆผ่านตู้ ATM ที่มีให้บริการของธนาคารพาณิชย์
ต่างๆได้ทั่วประเทศ ไม่ว่าจะเป็นการถอนเงินสด การโอนเงินระหว่างบัญชี รวมถึงการชำระค่า
บริการสาธารณูปโภคต่างๆตามที่ได้ตกลงกัน ซึ่งให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง
ผ่านระบบโทรศัพท์อัตโนมัติ
ผู้ใช้เพียงกดหมายเลขโทรศัพท์อัตโนมัติที่ธนาคารได้ระบุไว้ในการติดต่อทำธุรกรรม ก็สามาร
เลือกทำรายการทางการเงินต่างๆได้ เช่น สอบถามยอดเงินทางบัญชี การโอนเงิน การชำระค่า
สินค้าและบริการ หรือเลือกรับบริการแจ้งยอด statement ผ่านมายังเครื่องโทรสารปลายทางได้
ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
การเข้าไปใช้ระบบ จะมีระบบชื่อผู้ใช้ (user name) และรหัสผ่าน (password) ที่ให้เข้าไปทำธุร
กรรมได้ง่ายเพียงปลายนิ้ว บริการดังกล่าวครอบคลุมการทำธุรกรรมคล้ายกับระบบอื่น เช่น การ
โอนเงินให้บุคคลที่สาม การสอบถามยอดเงินคงเหลือ ซึ่งสามารถตรวจสอบย้อนหลังและเรียกดูราย
การในปัจจุบันได้ทันที

13. เครื่องคอมพิวเตอร์มือถือ (Handheld Computer) นำไปใช้ประโยชน์ในด้านใด และมีความแตกต่างกับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ (Microcomputer) อย่างไรบ้าง จงอธิบายประกอบ
คอมพิวเตอร์แบบมือถือ เป็นอุปกรณ์ที่ได้รับความนิยมอย่างรวดเร็ว เหมาะสำหรับนำไปใช้งานกิจ
กรรมส่วนบุคคล เช่น บันทึกการนัดหมาย ปฎิทินส่วนตัว หรือใช้สำหรับติดต่องานทางด้านธุรกิจ เช่น รับ-
ส่งอีเมล์ที่สำคัญเมื่ออยู่นอกสถานที่ทำงาน ตรวจสอบข้อมูลเกี่ยวกับตลาดหุ้น ข้อมูลข่าวสารสำคัญๆ แบบ
real time เป็นต้น แตกต่างจากไมโครคอมพิวเตอร์ทั่วไป คือ มีขนาดที่เล็กลงและสามารถพกพาได้สะดวก
กว่า และคุณสมบัติของคอมพิวเตอร์มือถือบางรุ่นอาจมีความสามารถที่เทียบเคียงได้พอกับไมโคร
คอมพิวเตอร์ โปรแกรมที่ใช้ในไมโครคอมพิวเตอร์อาจนำมาใช้กับคอมพิวเตอร์มือถือได้เช่นกัน แต่อาจตัด
ทอนคุณสมบัติบางอย่างลงไปบ้างเล็กน้อย

14. แท็บเล็ตพีซี (Tablet PC) มีหลักการทำงานอย่างไรบ้าง จงอธิบายมาพอเข้าใจ
เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์แบบใหม่ที่มีลักษณะเด่นกว่าคอมพิวเตอร์แบบอื่น กล่าวคือ ผู้ใช้สามารถ
ป้อนข้อมูลเข้าไปได้โดยการเขียนบนจอภาพเหมือนกับการเขียนข้อความลงไปในสมุดบันทึกได้เลยทันที
โดยเครื่องจะทำการแปลงข้อมูลเหล่านั้นเก็บไว้ให้ แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับคุณสมบัติของโปรแกรมที่ใช้ร่วมด้วย
นอกจากนั้นหน้าจอยังออกแบบให้สามารถพลิกไปมาได้ 2 ลักษณะคือเหมือนกับการใช้งานคอมพิวเตอร์
โน๊ตบุ๊คทั่วไปหรือพับได้แบบกระดานรองเขียนหนังสือ ปัจจุบันราคาของเครื่องดังกล่าวยังถือว่าแพงกว่า
คอมพิวเตอร์แบบอื่นๆมาก

15. พีดีเอ (PDA – Personal Digital Assistants) ที่นิยมใช้กันอยู่ในปัจจุบันมีกี่กลุ่ม ประกอบด้วยอะไรบ้าง จงอธิบายประกอบ
แบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่มคือ กลุ่มของ Palm และ Pocket PC โดยสามารถอธิบายพอสังเขปได้ดังนี้
Palm
เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์แบบพกพาที่เกิดขึ้นมาก่อน มีระบบปฏิบัติการที่เป็นของตัวเองที่เรียกว่า
Palm OS เหมาะสำหรับใช้งานเป็นเครื่องบันทึกช่วยจำ เช่น การนัดหมาย ปฎิทินส่วนตัว สมุด
โทรศัพท์ เป็นต้น
Pocket PC
คล้ายกับเครื่อง Palm แต่จะมีระบบปฏิบัติการที่ใช้ไม่เหมือนกันกล่าวคือจะใช้ระบบปฏิบัติการที่
เป็นของบริษัทไมโครซอฟท์ ผู้ที่เคยชินกับการใช้งานในระบบปฏิบัติการแบบวินโดว์บนเครื่องพีซีมาก่อน
จะสามารถใช้งานได้ง่ายมาก เนื่องจากหน้าตาของโปรแกรมเช่น รูปแบบหรือไอคอนต่างๆจะมีลักษณะที่
เหมือนกัน
16. ภาษาธรรมชาติ (natural language) คืออะไร สามารถนำไปใช้ประโยชน์ด้านใดบ้าง
เป็นระบบที่คอมพิวเตอร์ สามารถเข้าใจภาษาธรรมชาติของมนุษย์ได้เป็นอย่างดี เช่น รับรู้หรือจด
จำเสียงพูดของมนุษย์ได้ ตัวอย่างที่พบเห็นมากที่สุด เช่น ระบบที่เรียกว่า speech recognition ซึ่ง
สามารถแยกแยะเสียงสูงต่ำต่างๆแล้วเอาไปวิเคาะห์พร้อมทั้งสั่งการได้เองโดยอัตโนมัติ บางระบบมีการ
พัฒนาให้สามารถเข้าใจได้หลายภาษา อาจนำไปใช้กับการช่วยเหลือการทำงานของมนุษย์ เช่น ป้อนข้อ
มูลด้วยเสียงแทนการพิมพ์ข้อมูลผ่านคีย์บอร์ดเข้าไปตรงๆ ซึ่งช่วยลดระยะเวลาในการทำงานของผู้ใช้ลง
ไปได้มาก เป็นต้น


***อ้างอิงข้อมูลจาก 

-หนังสือความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ(ฉบับปรับปรุงใหม่)
-dusithost.dusit.ac.th/~chawalin_nia/site1/it/key_chapter_01.pdf