วันพุธที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2555

แบบฝึกหัดท้ายบทที่ 2


วินโดวส์ 8

เป็นระบบปฏิบัติการรุ่นต่อไปในตระกูลวินโดวส์ เปิดตัวเมื่อ 22 ตุลาคม 2553 ผ่านทางบล็อกภาษาดัชต์ของไมโครซอฟท์เอง วินโดวส์ 8 มีคุณสมบัติเพิ่มเติมมากมายหลายอย่าง เช่น ไลฟ์ ไทลส์ ช่วยให้เข้าข้อมูลพื้นฐานได้ง่ายขึ้นวินโดวส์ เอ็กซ์พลอเร่อ ที่ใช้การจัดข้อมูลแบบริบบ้อนแทนแบบเดิม เป็นต้น ปัจจุบันวินโดวส์ 8 อยู่ระหว่างการพัฒนา ผู้พัฒนาสามารถดาวน์โหลดวินโดวส์รุ่นนี้ไปเพื่อพัฒนาโปรแกรมก่อนได้  ทางไมโครซอฟท์ยังไม่มีแผนการจัดจำหน่ายวินโดวส์ 8


เบงกาลูลู (ชื่อเดิมบังกาลอร์)
เป็นศูนย์กลางของอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีชั้นสูง อาทิ เทคโนโลยีอวกาศ สารสนเทศ อิเล็กทรอนิกส์ การบิน และอวกาศ


แบบฝึกหัดท้ายบทที่ 2

1.  ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ แตกต่างกันอย่างไร จงอธิบาย

ฮาร์ดแวร์เป็นองค์ประกอบที่จับต้อง สัมผัสหรือมองเห็นได้อย่างเป็นรูปธรรม โดยทั่วไปมักเป็น
อุปกรณ์ทั้งที่เป็นแบบติดตั้งอยู่ภายในตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ เช่น ซีพียู เมนบอร์ด แรม และที่ติดตั้งอยู่
ภายนอกเครื่อง เช่น คีย์บอร์ด เมาส์ จอภาพ เครื่องพิมพ์ สำหรับซอฟต์แวร์เป็นสิ่งที่ไม่สามารถจับต้องได้
เหมือนกับฮาร์ดแวร์ ถือเป็นองค์ประกอบทางนามธรรมมากกว่า แต่สามารถสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงานได้
ตามที่ต้องการ โดยจะบรรจุคำสั่งต่างๆที่มีการเขียนขึ้นมาโดยเฉพาะ ซึ่งมักถูกสร้างมาโดยนักเขียน
โปรแกรมที่มีความชำนาญเป็นพิเศษ



2.  หน่วยงานที่ชื่อ SIPA ถูกจัดตั้งโดยกระทรวงใด มีบทบาทและหน้าที่อย่างไรบ้างในวงการซอฟต์แวร์ไทย

สำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติหรือ Software Industry Promotion Agency
ถูกจัดตั้งโดยกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารหรือกระทรวง ICT เป็นองค์กรมหาชนที่ทำ
หน้าที่ส่งเสริมให้คนไทยพัฒนาซอฟต์แวร์ไว้ใช้เอง ลดการนำเข้าจากต่างประเทศ รวมถึงพัฒนาเพื่อการ
ส่งออกและนำรายได้เข้าประเทศอีกทางหนึ่ง ปัจจุบันมีเครือข่ายครอบคลุมอยู่ตามหัวเมืองใหญ่ เช่น
กรุงเทพฯ ภูเก็ต ขอนแก่น และเชียงใหม่ เป็นต้น



3.  นักวิเคราะห์ระบบกับผู้ใช้งานมีความสัมพันธ์ที่เกี่ยวข้องอย่างไรบ้าง จงยกตัวอย่างประกอบ

นักวิเคราะห์ระบบทำหน้าที่วิเคราะห์และออกแบบระบบสำหรับใช้งานบางอย่างตามที่ผู้ใช้ต้องการ
โดยจำเป็นต้องมีการศึกษา สำรวจความต้องการโดยรวมจากผู้ใช้งานโดยตรง เพื่อนำเอามาเป็นแนวทาง
ในการออกแบบระบบเพื่อให้บรรลุตามเป้าหมายและสามารถใช้งานได้โดยมีข้อจำกัดน้อยที่สุด ผู้ใช้งาน
เองอาจมีส่วนร่วมในการให้ความคิดเห็น ข้อมูลย้อนกลับหรือรูปแบบของระบบงานที่ต้องการให้กับนัก
วิเคราะห์และออกแบบระบบได้ เช่น ต้องการให้วางหรือออกแบบระบบบัญชีเพื่อใช้ในสำนักงานนั้นโดย
เฉพาะ ผู้ใช้จำเป็นต้องให้ข้อมูลเกี่ยวกับวิธีการเบิกรับจ่ายสินค้า การบันทึกสินค้าคงเหลือ การแยก
ประเภทบัญชี ให้กับทีมงานการวิเคราะห์และออกแบบระบบเพื่อเป็นแนวทางในการวางระบบให้สมบูรณ์
เป็นต้น



4.  ช่างเทคนิค มีหน้าที่และบทบาทอย่างไรกับงานทางด้านคอมพิวเตอร์

มีหน้าที่หลักคือ การแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นกับระบบในหน่วยงานให้สามารถใช้งานได้ตามปกติ กลุ่ม
คนประเภทนี้ต้องมีทักษะและประสบการณ์ในการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้เป็นอย่างดี เพราะการปฏิบัติ
งานกับผู้ใช้อาจเกิดปัญหาในการใช้งานได้ตลอดเวลา โดยเฉพาะกับผู้ใช้งานมือใหม่และไม่มีความชำนาญ
อย่างเพียงพอ ปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้น เช่น ตัวเครื่องคอมพิวเตอร์เกิดขัดข้องระหว่างทำงาน ซอฟต์แวร์ที่
นำเอามาใช้ไม่สามารถทำงานได้เหมือนเคย สิ่งเหล่านี้จะเกิดขึ้นอยู่เสมอ ช่างเทคนิคเหล่านี้จึงเปรียบ
เสมือนหมอที่ช่วยรักษาคนไข้ให้หายจากอาการผิดปกติบางอย่างได้นั่นเอง



5.  Software Engineer เกี่ยวข้องอย่างไรกับกระบวนการผลิตซอฟต์แวร์

เป็นบุคคลในสายงานอาชีพทางด้านคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่วิเคราะห์และตรวจสอบซอฟต์แวร์ที่
พัฒนาขึ้นมาอย่างมีแบบแผนโดยอาศัยหลักการทางวิศวกรรมศาสตร์เข้ามาช่วย เช่น วัดค่าความซับซ้อน
ของซอฟท์แวร์ที่ผลิตขึ้นมา ตรวจสอบดูว่าการเขียนโปรแกรมนั้นถูกต้องตามหลักการเขียนโปรแกรมที่ดี
หรือไม่ เป็นกลุ่มคนที่มีทักษะและความเข้าใจในการพัฒนาซอฟต์แวร์มากพอสมควร มีทักษะในการเขียน
โปรแกรมได้หลายๆภาษา และสามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างทันท่วงทีตั้งแต่ขั้นตอนแรกๆของการสร้างไป
จนสิ้นสุดกระบวนการ อาจอยู่ในทีมเดียวกับกลุ่มนักเขียนโปรแกรมและนักวิเคราะห์ระบบ มักพบเห็นได้
กับการผลิตซอฟต์แวร์ขนาดใหญ่ เช่น ระบบปฏิบัติการ หรือการสร้างเกมส์หรือโปรแกรมควบคุมเครื่อง
จักรขนาดใหญ่ เป็นต้น



6.  การดูแลและบริหารระบบเครือข่าย เกี่ยวข้องกับบุคคลตำแหน่งใดมากที่สุด

เป็นลักษณะงานที่เกี่ยวข้องกับบุคคลในตำ แหน่งที่เรียกว่า ผู้ดูแลเน็ตเวิร์ก (Network
Administrator) มากที่สุด โดยจะต้องดูแลและบริหารระบบเครือข่ายให้สามารถทำงานได้อย่างราบรื่น มี
การติดตั้งระบบของเครือข่ายที่รัดกุม สร้างระบบป้องกันการบุกรุกที่มีเสถียรภาพและเฝ้าระวังไม่ให้เกิด
การถูกโจมตีจากผู้ไม่ประสงค์ดีเข้ามายังเครือข่ายในองค์กรได้



7.  binary digit คืออะไร เกี่ยวข้องอย่างไรกับการทำงานของคอมพิวเตอร์
เลขฐานสอง ที่ประกอบด้วยตัวเลขเพียง 2 ตัวเท่านั้นคือ 0 กับ 1 ซึ่งโดยปกติข้อมูลที่จะนำมาใช้
กับคอมพิวเตอร์ได้นั้น จะต้องมีการแปลงรูปแบบหรือสถานะให้คอมพิวเตอร์เข้าใจเสียก่อน จึงจะสามารถ
เอามาใช้งานในการประมวลผลต่างๆ ได้ ซึ่งโดยปกติจะเรียกว่า สถานะแบบดิจิตอล ซึ่งมีเพียงสองสถานะ
เท่านั้นคือ เปิด (1) และ ปิด (0)



8.  กระบวนการแปลงข้อมูลปกติให้เป็นเลขฐานสองทางคอมพิวเตอร์ มีขั้นตอนอย่างไรบ้าง จงอธิบาย

เริ่มจากข้อมูลตัวอักษรจะถูกป้อนเข้าไปยังระบบผ่านเข้าทางอุปกรณ์รับข้อมูลเช่น คีย์บอร์ด จาก
นั้นสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์ของตัวอักษรดังกล่าวจะถูกส่งต่อไปยังระบบการทำงานของคอมพิวเตอร์ เพื่อ
แปลงให้อยู่ในรูปแบบรหัสมาตรฐานที่เข้าใจตรงกัน และนำเก็บไว้ในหน่วยความจำเพื่อรอการประมวลผล
และแปลงกลับออกมาให้อยู่ในรูปแบบของภาพที่สามารถมองเห็นได้ผ่านอุปกรณ์การแสดงผลบางอย่าง
เช่น จอภาพ เป็นต้น



9.  การนำเข้าข้อมูลสู่คอมพิวเตอร์ สามารถทำได้โดยวิธีใดบ้าง จงยกตัวอย่างประกอบ
สามารถนำเข้าข้อมูลได้ 2 วิธีด้วยกันคือ

 ผ่านอุปกรณ์นำเข้า (input device)
ซึ่งเป็นวิธีที่ง่ายและสะดวกที่สุดสำหรับนำข้อมูลเข้าไปยังคอมพิวเตอร์โดยตรงผ่านอุปกรณ์นำเข้า
ข้อมูลหลายชนิด ขึ้นอยู่กับรูปแบบของข้อมูลด้วยว่าเป็นแบบใดและสามารถใช้งานร่วมกับอุปกรณ์
เหล่านั้นได้หรือไม่ ที่รู้จักกันดี เช่น คีย์บอร์ด สแกนเนอร์ ไมโครโฟน เป็นต้น
-
 ใช้สื่อเก็บบันทึกข้อมูลสำรอง (secondary storage)
การนำเข้าด้วยวิธีนี้อาจดึงเอาข้อมูลที่มีการบันทึกหรือเก็บไว้ก่อนหน้านั้นแล้ว จากสื่อบันทึกอย่าง
ใดอย่างหนึ่งมาใช้ได้ สื่อบันทึกข้อมูลแบบนี้เรียกว่า สื่อบันทึกข้อมูลสำรอง เช่น ฮาร์ดดิสก์ ดิส
เก็ตต์ หรือซีดี เป็นต้น



10.    พื้นฐานการทำงานของคอมพิวเตอร์ ส่วนใดที่ถือว่าเป็นเหมือนกับ สมองและประกอบด้วยส่วนที่เกี่ยวข้อง
อะไรบ้าง

ซีพียูหรือหน่วยประมวลผลกลาง เปรียบเหมือนกับ สมองของคอมพิวเตอร์ ซึ่งมีหน้าที่หลักใน
การประมวลผลคำสั่งที่ได้รับมาว่าจะให้ทำอะไรบ้าง ประกอบด้วยหน่วยสำหรับการทำงานแบ่งออกเป็น
ส่วนๆคือ
หน่วยควบคุม (Control Unit)
หน่วยคำนวณและตรรกะ (Arithmetic and Logic Unit)
รีจิสเตอร์ (Register)



11.    ROM และ RAM เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร

ถือเป็นหน่วยความจำเหมือนกัน แต่ ROM เป็นหน่วยความจำที่อ่านได้อย่างเดียว ไม่สามารถ
เขียนหรือบันทึกเพิ่มเติมได้ โดยปกติจะเป็นการเก็บคำสั่งที่ใช้บ่อยและเป็นคำสั่งเฉพาะ มีอยู่กับเครื่อง
อย่างถาวร แม้ไฟจะดับก็ไม่ทำให้คำสั่งต่างๆหายไป ส่วน RAM เป็นหน่วยความจำอีกแบบหนึ่งแต่เมื่อไฟ
ดับหรือปิดเครื่องข้อมูลต่างๆจะถูกลบเลือนหายไปหมด นิยมใช้สำหรับจดจำคำสั่งในระหว่างที่ระบบกำลัง
ทำงานอยู่เพียงเท่านั้น สามารถเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้ตลอดเวลา



12.    machine cycle คืออะไร และมีหลักการทำงานอย่างไรบ้าง จงอธิบาย
เป็นวงรอบหนึ่งๆในการทำงานของซีพียู จะเกี่ยวข้องกับการประมวลผลหลักๆโดยการอ่านและดึง
ข้อมูลมาจากหน่วยความจำหลัก เพื่อเก็บเข้าสู่รีจิสเตอร์ในส่วนที่เก็บชุดคำสั่งและตำแหน่งสำหรับประมวล
ผล จากนั้นจะมีการแปลความหมายของชุดคำสั่งว่าจะให้ทำอะไรบ้าง และนำไปทำงานตามที่ได้รับนั้นและ
เก็บผลลัพธ์ที่ได้เพื่อให้ส่วนอื่นๆเรียกใช้ต่อไป โดยจะมีการวนอ่านเพื่อประมวลผลแบบนี้วนซ้ำไปเรื่อยๆ
จนกว่าจะจบโปรแกรมหรือชุดคำสั่งในการทำงานทั้งหมด




13.    ขั้นตอนช่วง E-Time ประกอบด้วยขั้นตอนอะไรบ้าง

Exectutioin Time หรือเวลาปฏิบัติการ เป็นส่วนหนึ่งของขั้นตอนในวงรอบการทำงานของซีพียู
ประกอบด้วยขั้นตอนของการปฏิบัติการ (Execute) และขั้นตอนการเก็บผลลัพธ์ (Store)




******อ้างอิงข้อมูลจาก
หนังสือความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ

http://dusithost.dusit.ac.th/~chawalin_nia/site1/it/key_chapter_02.pdf

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น